ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้าอมเขียว) magenta (แดงอมม่วง) yellow (เหลือง) key (สีดำ - ไม่ใช้ B แทน black เพราะจะสับสนกับ blue) ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้ การผสมสีทั้งสี่นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ ซึ่งปกติการเลือกใช้สีนั้น จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบคือ CMYK และ RGB สามารถแบ่งแยกประเภทการใช้งานได้ง่ายๆ นั้นก็คือ ถ้าเป็นสีที่ต้องพิมพ์ออกมา ไม่ว่าจะพิมพ์ในรูปแบบใดก็ตาม จะต้องใช้ค่าสีของ CMYK แต่ถ้าต้องการสีที่แสดงผลออกทางหน้าจอ ก็จะเืลือกใช้ RGB เท่านั้น ซึ่งหลักการดังกล่าว ในปัจจุบัน ยังมีผู้มีความเข้าใจในส่วนนี้น้อยมาก เนื่องจากว่า นักออกแบบมือสมัครเล่น หรือ มือใหม่ เวลาต้องการจะทำงานประเภทสิ่งพิมพ์ ก็มักตั้งค่าสีเป็น RGB เพราะว่าค่าสีดังกล่าวสีสดกว่า แต่เมื่อสั่งพิมพ์แล้ว ทำให้ค่าสีที่ออกมาผิดเพี้ยน มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสีที่เลือก เช่น เลือกสีแดง อาจจะได้สีชมพู เหลือสีม่วง อาจจะได้สีน้ำเงิน ดังนั้นผู้ที่ใช้โหมดสีควรจะทำความเข้าใจของงานให้มาก เพื่องานที่ออกมาจะได้ค่าสีที่ตรงกับความต้องการ
การกำหนดค่าสี RGB RGB การเลือกสีต่างๆ นั้น สามารถเลือกได้ถึง 2 สี - 16 ล้านสี (ข้อมูลอ้างอิงจากกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปี 2545) โดยเข้ารหัสสี สามารถเลือกเฉดสีได้ด้วยลักษณะของชุดรหัสตัวเลข 0-9 และ A-F ปนกันไปจนครบ 6 ตัวอักษรเท่านั้น เช่น 000000 = สีดำ FFFFFF = สีขาว FF0000 = สีแดง ดังนั้น ผู้ใช้สี สามารถกำหนดสีได้ต่างๆ มากมาย โดยใช้ตัวอักษรปะปนกันไป เพราะสามารถสร้างรูปแบบหรือกำหนดสีได้มากกว่ 16 ล้านรูปแบบ ( เช่น AC01B22, 522AA6, F2D3A0 โดยชุดดังกล่าวจะเป็นสีต่างๆ เพียงแค่กฎการใช้ คือใช้ตัวเลขใดๆ ก็ได้ 0-9 จะกี่ตัวก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 ตัวอักษร แต่ถ้าจะมีอักษรภาษาอังกฤษผสมด้วย ก็สามารถเอามาใช้ได้ แต่จะเลือกใช้ได้ตั้งแต่ A-B-C-D-E-F เท่านั้น นับตั้งแต่ตัว G ขึ้นไปจะไม่สามารถประเมินผลได้
CMYK จะใช้หลักการเืลือกสีรูปแบบเดียวกับ RGB แต่ว่าค่าสีจะถูกตัดออกไปเป็นจำนวนเยอะมาก ทำให้มีค่าสีอยู่แค่หลักร้อย หรือ พันกว่าสีเท่านั้น โดยที่ค่าสีของ CMYK จะตัดค่้าสีที่ตาเรามองไม่เห็น หรือไม่สามารถแยกแยะออกถึงความใกล้เคียงกันมาเกินไปได้ อย่างในกรณีของใบไม้ ที่เราอาจจะมองว่าเป็นสีเขียว แต่ถ้าจะให้ระบุสีในใบไม้เดียวกันให้ใกล้เคียงที่สุด อาจจะได้คำตอบที่เป็น สีเขียว, เขียวแก่, เขียวแก่กว่า, เขียวอ่อน, เขียวอมเหลือง, เขียวแกรมฟ้า ฯลฯ อย่างหาข้อสรุปไม่ได้ เพราะในสายตาคนเรามักจะมองรูปแบบสีหลักๆ เท่านั้น ดังนั้นปัญหาเรื่องของสีโหมด CMYK จึงจะตัดค่าสีที่ห่างกันไม่มากออกไปเพียงเท่านั้น